โปรตีน... สารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนต่างๆ ร่างกาย
โปรตีนกับสมองและอารมณ์
- โปรตีนเป็นสารสำคัญต่อการสร้างเอนไซม์ทุกชนิดที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมอง การขาดโปรตีนจึงส่งผลต่อการทำงานที่เป็นปกติของสมอง
- สารอาหารหลายชนิดเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ (Cognition) เช่น วิตามิน กรดไขมัน โดยโปรตีนในรูปของเอนไซม์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำคัญ
- ปริมาณและคุณภาพของโปรตีนที่ได้รับจากอาหาร มีผลต่ออัตราการสังเคราะห์โปรตีนในสมอง การขาดโปรตีนจึงส่งผลต่อการทำงานของสมอง
- สารสื่อประสาทหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านอารมณ์ เช่น เซโรโทนิน (Serotonin) มีหลายปัจจัยที่มีผลต่อระดับของสารชนิดนี้ในสมอง เช่น พันธุกรรม การบริโภคโปรตีน
- สารคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองและอารมณ์ ยังสัมพันธ์กับการบริโภคโปรตีน การให้สารประเภทโปรตีน ไฮโดรไลเสท (Protien Hydrolysate) ช่วยให้การทำงานของสมองดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของอารมณ์ที่กระปรี้กระเปร่า การผ่อนคลาย ดังนั้นปริมาณและคุณภาพของโปรตีนจึงเกี่ยวข้องกับอารมณ์ตลอดจนการทำงานของสมอง
- กรดอะมิโนบางชนิด เช่น ทริปโตเฟน (Tryptophan) ที่เกี่ยวข้องกับระดับเซโรโทนินในสมองจึงส่งผลต่ออารมณ์
- การทำงานของสมองเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบทางเดินอาหาร โดยพบว่าสารเซโรโทนิน สัมพันธ์กับสารบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร เช่น เมลาโทนิน (Melatonin) การป้องกันปัญหาในระบบทางเดินอาหารอาจทำได้โดยการใช้ผลของโปรตีนที่สัมพันธ์กับการควบคุมอารมณ์
โปรตีนกับผิว
- มีรายงานการศึกษาจำนวนมากบ่งชี้ว่า ภาวะการขาดโปรตีนและพลังงานส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพของเส้นผมและผิวหนัง
- จากการาศึกษาของนักวิจัย UCSD ตีพิมพ์ในวรสาร Nature 2001 พบว่า โปรตีนจำเป็นต่อการสร้างผิวหนังส่วนที่อยู่ด้านนอกสุด ซึ่งเป็นส่วนที่ปกป้องการรุกรานของจุลชีพและปกป้องการสูญเสียความชื้นจากร่างกาย โดยทำหน้าที่เกี่ยวกับกลไกการสร้างเคราติน (Keratin) และเอนไซม์บางกลุ่ม การเสริมโปรตีนจึงช่วยดูแลสุขภาพของผิวหนัง
- การเสริมโปรตีนให้ผลดีต่อสุขภาพของผิวหนัง เป็นต้นว่าการใช้คอลลาเจน ไฮโดรไลเสท Collagen Hydrolysate) ในรูปของอาหารฟังก์ชั่น
- เด็กที่ได้รับสารอาหารครบถ้วนรวมถึงโปรตีนย่อมทำให้ผิวมีสุขภาพดี ป้องกันโรคได้ และทำหน้าที่ได้ตามปกติ
- ภาวะขาดโปรตีนส่งผลเสียต่อการคงตัวของผิวหนังในผู้สูงวัย การเสริมโปรตีนจึงช่วยดูแลสุขภาพของผิวหนัง
- การขาดโปรตีนส่งผลให้ผิวหนังเกิดความผิดปกติ นำไปสู่การเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับผิวหนังหลายชนิด การได้รับโภชนาการโปรตีนที่เหมาะสมเพียงพอจึงช่วยป้องกันปัญหาเหล่านั้นได้
โปรตีนกับคุณภาพของเส้นผม
- มีรายงานการศึกษาจำนวนมากบ่งชี้ว่า ภาวะการขาดโปรตีนและพลังงานส่งผลต่อสุขภาพของผิวหนังและเส้นผม
- มีรายงานการศึกษาพบว่า สารหรือยาบางชนิดที่ขัดขวางการทำงานของโปรตีนบางตัว เช่น NFATc1 ส่งผลต่อการงอกของเส้นผมแสดงให้เห็นว่าโปรตีนเกี่ยวข้องกับการเจริญงอกงามของเส้นผม
- คุณภาพโปรตีนจากอาหารมีผลต่อการสังเคราะห์โปรตีนในตับและส่งผลต่อคุณภาพและความแข็งแรงของเนผม การบริโภคโปรตีนที่มีคุณภาพจึงช่วยให้เส้นผมมีสุขภาพดี
- คุณภาพโปรตีนที่บริโภคสามารถนำมาใช้เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพของเส้นผมได้
ที่มา : Achieve August 2009